November 22, 2024

“พายุแม่เหล็กโลก” ระดับร้ายแรง เตือนคืนพรุ่งนี้ ผลกระทบต่อโลก

วันที่ 10 ต.ค. 67 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก สมาคมดาราศาสตร์ไทย โพสต์เตือนเกี่ยวกับ “พายุแม่เหล็กโลก” ระบุว่า วันที่ 10 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก สมาคมดาราศาสตร์ไทย โพสต์เตือนพายุแม่เหล็กโลก ระบุว่า “ด่วน! NOAA ออกประกาศเฝ้าติดตามพายุแม่เหล็กโลกระดับร้ายแรง G4 คืนวันพรุ่งนี้ เผยมีโอกาส 25% ที่จะทวีความรุนแรงสู่ระดับสุดขั้ว G5”
พายุแม่เหล็กโลก ระดับร้ายแรง เตือนคืนพรุ่งนี้ ผลกระทบต่อโลก

 

พายุแม่เหล็กโลก ระดับร้ายแรง เตือนคืนพรุ่งนี้ ผลกระทบต่อโลก

โดยทางด้าน เว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยข้อมูลว่า “พายุแม่เหล็กโลก” เกิดจากลมสุริยะที่มีความรุนแรงปะทะเข้ากับสนามแม่เหล็กของโลกจนทำให้เกิดความปั่นป่วน แม้การปะทะนี้จะเกิดขึ้นในอวกาศเหนือชั้นบรรยากาศโลกไป แต่ก็ส่งผลกระทบต่อโลกได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเทคโนโลยีอวกาศ เช่นดาวเทียม การส่งกำลังไฟฟ้า หรือการสื่อสารวิทยุ ส่วนผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์มีไม่มากนัก

องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ โนอา (NOAA–National Oceanic and Atmospheric Administration) ได้กำหนดมาตราหนึ่งสำหรับแสดงระดับความรุนแรงของปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศนอกโลกที่จะมีผลต่อโลกไว้เพื่อความสะดวกในการสื่อสารกับสาธารณชน มาตรานี้แสดงด้วยตัวเลขในทำนองเดียวกับมาตราริกเตอร์ที่แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหวหรือมาตราฟุชิตะที่ใช้ในการแสดงความรุนแรงพายุ

(G 1) ระดับความแรงน้อย – เกิดความผันผวนของแรงดันในระบบส่งกำลังไฟฟ้าเล็กน้อย สัตว์ที่อพยพโดยใช้สนามแม่เหล็กในการกำหนดทิศอาจสับสน เกิดแสงเหนือใต้ที่ละติจูดสูง

(G 2) ระดับความแรงปานกลาง – ระบบสายส่งไฟฟ้าที่ละติจูดสูง ๆ อาจเกิดความผิดปรกติของแรงดัน หากเกิดเป็นเวลานานอาจทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าเสียหาย การควบคุมทิศทางของดาวเทียมอาจเกิดความผิดปรกติแต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบรักษาทิศทาง และอาจทำให้วงโคจรเปลี่ยนแปลง สัญญาณความถี่สูงที่ละติจูดสูงอาจอ่อนกำลัง เกิดแสงเหนือใต้ลามมาถึงระดับ 55 องศา

(G 3) ระดับความแรงปานกลาง – แรงดันไฟฟ้าในระบบส่งไฟฟ้าผิดปรกติ แต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบปรับแรงดัน อาจเกิดการสะสมประจุในชิ้นส่วนของดาวเทียมและอาจเกิดความผิดพลาดกับระบบควบคุมทิศทาง มีปัญหากับระบบกระจายสัญญาณวิทยุความถี่ต่ำเป็นระยะ เกิดแสงเหนือแสงใต้ลามลงไปถึงระดับละติจูดแม่เหล็ก 50 องศา

(G 4) ระดับความแรงมาก – ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าอาจเกิดความเสียหายเป็นพื้นที่กว้าง ยานอวกาศอาจเกิดการสะสมประจุขึ้นที่พื้นผิวและอาจมีปัญหาในการสื่อสารและควบคุมทิศ เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในท่อส่งน้ำ เกิดแสงเหนือแสงใต้ลามไปถึงละติจูดแม่เหล็ก 45 องศา การกระจายสัญญาณความถี่สูงขัดข้องเป็นระยะ

(G 5) ระดับความแรงที่สุด – ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าและระบบป้องกันเสียหายทั่ว ระบบสายส่งไฟฟ้าอาจล่มหรือดับถาวร หม้อแปลงไฟฟ้าอาจเสียหาย ยานอวกาศมีปัญหาจากประจุเข้มข้นที่สะสมที่ผิวยาน มีปัญหาด้านการสื่อสารและการควบคุมทิศ กระแสไฟฟ้าในท่อส่งน้ำอาจสูงหลายร้อยแอมแปร์ การกระจายสัญญาณความถี่สูงล้มเหลว เกิดแสงเหนือแสงใต้ลามไปถึงระดับละติจูดแม่เหล็ก 40 องศา

ส่วนทางด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คอมเมนต์ให้ข้อมูลใต้โพสต์ดังกล่าว ระบุว่า “(จากโพสต์สมาคมฯ) ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปะทุบนดวงอาทิตย์ที่มีผลมาถึงโลกคือ พายุแม่เหล็กโลก เกิดจากลมสุริยะที่มีความรุนแรงปะทะเข้ากับสนามแม่เหล็กของโลกจนทำให้เกิดความปั่นป่วน

แม้การปะทะนี้จะเกิดขึ้นในอวกาศเหนือชั้นบรรยากาศโลกไป แต่ก็ส่งผลกระทบต่อโลกได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเทคโนโลยีอวกาศ เช่นดาวเทียม การส่งกำลังไฟฟ้า หรือการสื่อสารวิทยุ ส่วนผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์มีไม่มากนัก”
พายุแม่เหล็กโลก ระดับร้ายแรง เตือนคืนพรุ่งนี้ ผลกระทบต่อโลกพายุแม่เหล็กโลก ระดับร้ายแรง เตือนคืนพรุ่งนี้ ผลกระทบต่อโลก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *