October 6, 2024

คันกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ แตก มวลน้ำมหาศาลไหลท่วมหมื่นไร่.

คันกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ แตก มวลน้ำมหาศาลไหลท่วมหมื่นไร่

ปิด
มหาสารคาม อ่วม คันกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ แตก มวลน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมนับ 10,000 ไร่ กระทบ 4 ตำบล เร่งซ่อม คาดใช้เวลา 5 วัน กลับสู่สถานการณ์ปกติ

มหาสารคาม อ่วม คันกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ แตก มวลน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมนับ 10,000 ไร่ กระทบ 4 ตำบล เร่งซ่อม คาดใช้เวลา 5 วัน กลับสู่สถานการณ์ปกติ

วันที่ 17 ก.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีฝนตกหนักในพื้นที่ ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ส่งผลทำให้ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ แตกเป็นรอยรั่วขนาดใหญ่ มวลน้ำทะลักท่วมนาข้าวชาวบ้านที่มีพื้นที่ต่ำกว่าอ่างเก็บน้ำรวมแล้วหลายพันไร่

ล่าสุดโครงการชลประทานมหาสารคาม ได้ประสานกับสำนักชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน นำเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพื่อเร่งซ่อมแซมจุดที่ขาด ความยาวประมาณ 60 เมตร โดยช่างได้ทำตาข่ายบรรจุหินบรรจุในตะแกรงหรือทำหินเกเบี้ยน เพื่อเตรียมนำไปวางตามจุด ซึ่งสถานการณ์น้ำปัจจุบันระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับกัดเซาะ

มหาสารคาม อ่วม คันกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ แตก มวลน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมนับ 10,000 ไร่ กระทบ 4 ตำบล เร่งซ่อม คาดใช้เวลา 5 วัน กลับสู่สถานการณ์ปกติ

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนนั้น ได้นำเครื่องจักร เครื่องมือลงพื้นที่ เข้าไปกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำลงลำน้ำเสียวใหญ่เป็นการลดผลกระทบจากน้ำไหลลงสู่พื้นที่ท้ายอ่างของประชาชนให้รวดเร็ว

คาดว่าสามารถระบายน้ำได้ภายใน 5 วัน จะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งกรมชลประทานจะติดตามและควบคุมสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

 

อ่านข่าว : ด่วนขาดแล้ว! คอสะพานห้วยเชียงคำ มหาสารคามยังอ่วมฝนถล่มอ่างเก็บน้ำแตก
นายศฎายุช ไชยลาด นายอำเภอบรบือ กล่าวว่า พื้นที่ความเสียหายจากเหตุคันดินกั้นน้ำห้วยเชียงคำขาด ได้ให้เจ้าหน้าที่เร่งระดมสำรวจเบื้องต้นทราบว่ามีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งพื้นที่บ้านเรือนและไร่นาจำนวน 10,000 ไร่ ในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอบรบือ

ได้แก่ ต.กำพี้ ต.หนองม่วง ต.ดอนงัว และ ต.ยาง ซึ่งมวลน้ำจะไหลจากพื้นที่จุดนี้ไปลงลำน้ำเสียวใหญ่พื้นที่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ก่อนเป็นจุดแรก จากนั้นน้ำจะไหลต่อไปอำเภออุบลรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด เข้าสู่ จ.ศรีสะเกษแล้วลงแม่น้ำมูลต่อไป

ส่วนการเยียวยาช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะประเมินความเสียหายเป็น 1.เป็นพื้นที่เสียหายทางการเกษตรและปศุสัตว์ 2.เป็นพื้นที่บ้านเรือน และ 3.ถนนหรือเส้นทางจราจร ซึ่งข้อนี้จะมีการประสานกับแขวงทางหลวงชนบท ในการดูแลถนนที่เสียหาย

โดยจุดนี้คือ ถนนสายบรบือ-นาดูน ซึ่งเป็นถนนที่ถูกตัดขาดและเป็นถนนเส้นหลักที่ประชาชนใช้สัญจร รวมถึงถนนในหมู่บ้านและชุมชนอีกหลายเส้นทางที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

รวมถึงระดมสรรพกำลังอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งได้รับการช่วนเหลือพิเศษจากเจ้าหน้าที่ทหารจากค่าย พล.ร.6 นำกำลังพลเข้ามาร่วมดูแลการดำเนินการช่วยเหลือซ่อมแซมถนนสายรองในชุมชนด้วย

นางปนิดา กุดนอก ชาวบ้านบ้านโคกกลางหมู่ 10 ต.โนนราษี อ.บรบือ กล่าวว่า ที่นาของตนอยู่ท้ายอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 7 ไร่ คาดว่าที่นาจะเสียหายประมาณ 50% คาดว่าปีนี้น่าจะไม่ได้ข้าว หรือได้ก็ได้เป็นส่วนน้อย อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือชดเชย หรือมีแนวทางการช่วยเหลืออื่นเพื่อเป็นกำลังใจให้กับชาวบ้าน

สำหรับ อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ.2496 แล้วเสร็จ พ.ศ.2499 ได้ใช้งานมาแล้วประมาณ 68 ปี ตัวเขื่อนสูง 8 เมตร ยาว 1,000 เมตร ความจุ 5.07 ล้านลูกบาศก์เมตร

มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ย 24.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯมากกว่าความจุเก็บกักประมาณ 5 เท่า ทำให้เขื่อนมีความเสี่ยงที่น้ำจะไหลล้นข้ามสันเขื่อน หากมีฝนตกมากผิดปกติ) โดยมีอาคารระบายน้ำล้น(Spillway) สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 24.2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

นายชลศักดิ์ สุขี ผอ.โครงการชลประทานมหาสารคาม เปิดเผยว่า ชลประทานจังหวัดได้เตรียมแก้ไขปรับปรุง เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่ตัวเขื่อนที่ใช้งานมานาน

กรมชลประทานจึงได้ออกแบบปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้นจากเดิมที่ระบายได้ 24.2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือ 2.09 ล้านลูกยาศก์เมตรต่อวันเป็นระบายได้ 54.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือ 4.06 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อวันโดยได้รับงบประมาณมาดำเนินการในปี 2567

แต่เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2567 มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ 2.727 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53.83% เนื่องจากฝนตกในพื้นที่วัดได้ 145.50 มิลลิเมตร มีน้ำไหลลงอ่างประมาณ 3.063 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกว่า 5.79 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 114.29% ของความจุอ่างฯ

ต่อมาวันที่ 16 ก.ค.67 ระดับน้ำในอ่างได้เอ่อล้นทำนบชั่วคราวไหลลงช่องอาคารระบายน้ำล้นเกิดการกัดเซาะอาคารและทำนบดินเสียหายขาดเป็นความยาวประมาณ 50 เมตร จนทำให้พื้นที่ได้รับผลกระทบด้านท้าย ประมาณ 3,000 ไร่ และล่าสุดขยายพื้นที่ความเสียหาสเป็น 10,000 ไร่

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน นั้นได้นำเครื่องจักร เครื่องมือลงพื้นที่ เข้าไปกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำลงลำน้ำเสียวใหญ่เป็นการลดผลกระทบจากน้ำไหลลงสู่พื้นที่ท้ายอ่างฯของประชาชนให้รวดเร็ว

คาดว่าสามารถระบายน้ำได้ภายใน 5 วัน จะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งกรมชลประทานจะติดตามและควบคุมสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

ขณะที่แนวโน้มฝนในช่วงที่ผ่านมา อ.บรบือ ที่สถานี อบต.โนนแดง ล่าสุดฝนตกวัดได้ 7.6 มม. ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ลดลง ทำให้เจ้าหน้าที่ได้เร่งวางแผนการช่วยเหลือประชาชนโดยจะจัดเรือพร้อมทีมช่วยเหลือเข้าพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย..

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *